จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

อยากอยู่ในระบบหรือออกนอกระบบ


  1. เพิ่มคำอธิบายภาพ

ระบบสุริยะ

 ที่มา  http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type1/science03/08/index.html

                                                           ระบบสุริยะจักรวาล

ระบบสุริยะจักรวาล



ระบบสุริยะจักรวาล


          ระบบสุริยะ ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่นๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เช่น ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และดาวบริวาร โลกเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3 โดยทั่วไป ถ้าให้ถูกต้องที่สุดควรเรียกว่า ระบบดาวเคราะห์ เมื่อกล่าวถึงระบบที่มีวัตถุต่างๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ 

          ระบบสุริยะ คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่าง ระบบสุริยะที่โลกของเราเป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอน

          เพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึงที่โลกของเราอยู่เป็นระบบที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 9 ดวง ที่เราเรียกกันว่า ดาวนพเคราะห์ ( นพ แปลว่า เก้า) เรียงตามลำดับ จากในสุดคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ( ตอนนี้ไม่มีพลูโตแร้ว เหลือแค่ 8 ดวง )

          และยังมีดวงจันทร์บริวารของ ดวงเคราะห์แต่ละดวง (Moon of sattelites) ยกเว้นเพียง สองดวงคือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ที่ไม่มีบริวาร ดาวเคราะห์น้อย (Minor planets) ดาวหาง (Comets) อุกกาบาต (Meteorites) ตลอดจนกลุ่มฝุ่นและก๊าซ ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจร ภายใต้อิทธิพลแรงดึงดูด จากดวงอาทิตย์ ขนาดของระบบสุริยะ กว้างใหญ่ไพศาลมาก เมื่อเทียบระยะทาง ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ 

          ซึ่งมีระยะทางประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 1au.(astronomy unit) หน่วยดาราศาสตร์ กล่าวคือ ระบบสุริยะมีระยะทางไกลไปจนถึงวงโคจร ของดาวพลูโต ดาว เคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ในระบบสุริยะ ซึ่งอยู่ไกล เป็นระยะทาง 40 เท่าของ 1 หน่วยดาราศาสตร์ และยังไกลห่างออก ไปอีกจนถึงดงดาวหางอ๊อต (Oort's Cloud) ซึ่งอาจอยู่ไกลถึง 500,000 เท่า ของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ด้วย ดวงอาทิตย์มีมวล มากกว่าร้อยละ 99 ของมวลทั้งหมดในระบบสุริยะที่เหลือ

ระบบสุริยะจักรวาล

          นอกนั้นจะเป็นมวลของ เทหวัตถุต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต รวมไปถึงฝุ่นและก๊าซ ที่ล่องลอยระหว่าง ดาวเคราะห์ แต่ละดวง โดยมีแรงดึงดูด (Gravity) เป็นแรงควบคุมระบบสุริยะ ให้เทหวัตถุบนฟ้าทั้งหมด เคลื่อนที่เป็นไปตามกฏแรง แรงโน้มถ่วงของนิวตัน ดวงอาทิตย์แพร่พลังงาน ออกมา ด้วยอัตราประมาณ 90,000,000,000,000,000,000,000,000 แคลอรีต่อวินาที

          เป็นพลังงานที่เกิดจากปฏิกริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ โดยการเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม ซึ่งเป็นแหล่งความร้อนให้กับดาว ดาวเคราะห์ต่างๆ ถึงแม้ว่าดวงอาทิตย์ จะเสียไฮโดรเจนไปถึง 4,000,000 ตันต่อวินาทีก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังมีความเชื่อว่าดวงอาทิตย์ จะยังคงแพร่พลังงานออกมา ในอัตราที่เท่ากันนี้ได้อีกนานหลายพันล้านปี 

          ชื่อของดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวงยกเว้นโลก ถูกตั้งชื่อตามเทพของชาวกรีก เพราะเชื่อว่าเทพเหล่านั้นอยู่บนสรวงสวรค์ และเคารพบูชาแต่โบราณกาล ในสมัยโบราณจะรู้จักดาวเคราะห์เพียง 5 ดวงเท่านั้น(ไม่นับโลกของเรา) เพราะสามารถเห็นได้ ด้วยตาเปล่าคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ประกอบกับดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ รวมเป็น 7 ทำให้เกิดวันทั้ง 7 ในสัปดาห์นั่นเอง และดาวทั้ง 7 นี้จึงมีอิทธิพลกับดวงชะตาชีวิตของคนเราตามความเชื่อถือทางโหราศาสตร์ ส่วนดาวเคราะห์อีก 3 ดวง คือ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ถูกค้นพบภายหลัง แต่นักดาราศาสตร์ก็ตั้งชื่อตามเทพของกรีก เพื่อให้สอดคล้องกันนั่นเอง

ทฤษฎีการกำเนิดของระบบสุริยะ 

          หลักฐานที่สำคัญของการกำเนิดของระบบสุริยะก็คือ การเรียงตัว และการเคลื่อนที่อย่างเป็นระบบระเบียบของดาว เคราะห์ ดวงจันทร์บริวาร ของดาวเคราะห์ และดาวเคราะห์น้อย ที่แสดงให้เห็นว่าเทหวัตถุ ทั้งมวลบนฟ้า นั้นเป็นของ ระบบสุริยะ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย ที่เทหวัตถุท้องฟ้าหลายพันดวงจะมีระบบโดยบังเอิญโดยมิได้มีจุดกำเนิดร่วมกัน

          Piere Simon Laplace ได้เสนอทฤษฎีจุดกำเนิดของระบบสุริยะ ไว้เมื่อปี ค.ศ.1796 กล่าวว่า ในระบบสุริยะจะมีมวลของก๊าซรูปร่างเป็นจานแบนๆ ขนาดมหึมาหมุนรอบ ตัวเองอยู่ ในขณะที่หมุนรอบตัวเองนั้นจะเกิดการหดตัวลง เพราะแรงดึงดูดของมวลก๊าซ ซึ่งจะทำให้อัตราการหมุนรอบตัวเองนั้นจะเกิดการหดตัวลงเพราะแรงดึงดูดของก๊าซ ซึ่งจะทำให้อัตราการ หมุนรอบตังเองมีความเร็วสูงขึ้นเพื่อรักษาโมเมนตัมเชิงมุม (Angular Momentum) ในที่สุด

          เมื่อความเร็วมีอัตราสูงขึ้น จนกระทั่งแรงหนีศูนย์กลางที่ขอบของกลุ่มก๊าซมีมากกว่าแรงดึงดูด ก็จะทำให้เกิดมีวงแหวน ของกลุ่มก๊าซแยก ตัวออกไปจากศุนย์กลางของกลุ่มก๊าซเดิม และเมื่อเกิดการหดตัวอีกก็จะมีวงแหวนของกลุ่มก๊าซเพิ่มขึ้นต่อไปเรื่อยๆ วงแหวนที่แยกตัวไปจากศูนย์กลางของวงแหวนแต่ละวงจะมีความกว้างไม่เท่ากัน ตรงบริเวณที่มีความหนาแน่นมากที่สุดของวงจะคอยดึงวัตถุทั้งหมดในวงแหวน มารวมกันแล้วกลั่นตัวเป็นดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ของดาว ดาวเคราะห์จะเกิดขึ้นจากการหดตัวของดาวเคราะห์ 

           สำหรับดาวหางและสะเก็ดดาวนั้น เกิดขึ้นจากเศษหลงเหลือระหว่าง การเกิดของดาวเคราะห์ดวงต่างๆ ดังนั้นดวงอาทิตย์ในปัจจุบันก็คือ มวลก๊าซ ดั้งเดิมที่ทำให้เกิดระบบสุริยะขึ้นมานั่นเอง นอกจากนี้ยังมีอีกหลายทฤษฎีที่มีความเชื่อในการเกิดระบบสุริยะ แต่ในที่สุดก็มีความเห็นคล้ายๆ กับแนวทฤษฎีของ Laplace ตัวอย่างเช่น ทฤษฎีของ Coral Von Weizsacker นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ซึ่งกล่าวว่า มีวงกลมของกลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองหรือเนบิวลา ต้นกำเนิดดวงอาทิตย์ (Solar Nebular) ห้อมล้อมอยู่รอบดวงอาทิตย์

          ขณะที่ดวงอาทิตย์เกิดใหม่ๆ และละอองสสารในกลุ่มก๊าซ เกิดการกระแทกซึ่งกันและกัน แล้วกลายเป็นกลุ่มก้อนสสาร ขนาดใหญ่ จนกลายเป็นเทหวัตถุแข็ง เกิดขั้นในวงโคจรของดวงอาทิตย์ ซึ่งเราเรียกว่า ดาวเคราะห์และดวงจันทร์ของดาวเคราะห์นั่นเอง

          ระบบสุริยะของเรามีขนาดใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับโลกที่เราอาศัยอยู่ แต่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับกาแล็กซีของเราหรือ กาแล็กซีทางช้างเผือก ระบบสุริยะตั้งอยู่ในบริเวณวงแขนของกาแล็กซีทางช้างเผือก (Milky Way) ซึ่งเปรียบเสมือนวงล้อยักษ์ที่หมุนอยู่ในอวกาศ โดยระบบสุริยะ จะอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกประมาณ 30,000 ปีแสง ดวงอาทิตย์ จะใช้เวลาประมาณ 225 ล้านปี ในการเคลื่อนครบรอบจุดศูนย์กลาง ของกาแล็กซี ทางช้างเผือกครบ 1 รอบ 

          นักดาราศาสตร์จึงมีความเห็นร่วมกันว่า เทหวัตถุทั้งมวลในระบบสุริยะไม่ว่าจะเป็นดาวเคราะห์ทุกดวง ดวงจันทร์ของ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต เกิดขึ้นมาพร้อมๆกัน มีอายุเท่ากันตามทฤษฎีจุดกำเนิดของระบบ สุริยะ และจากการนำ เอาหิน จากดวงจันทร์มา วิเคราะห์การสลายตัว ของสารกัมมันตภาพรังสี ทำให้ทราบว่าดวงจันทร์มี อายุประมาณ 4,600 ล้านปี

          ในขณะเดียวกัน นักธรณีวิทยาก็ได้คำนวณ หาอายุของหินบนผิวโลก จากการสลายตัว ของอตอม อะตอมยูเรเนียม และสารไอโซโทป ของธาตุตะกั่ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า โลก ดวงจันทร์ อุกกาบาต มีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี และอายุของ ระบบสุริยะ นับตั้งแต่เริ่มเกิดจากฝุ่นละอองก๊าซ ในอวกาศ จึงมีอายุไม่เกิน 5000 ล้านปี ในบรรดาสมาชิกของระบบสุริยะซึ่งประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์ ของดาวเคราะห์ดาวหาง อุกกาบาต สะเก็ดดาว รวมทั้งฝุ่นละองก๊าซ อีกมากมาย นั้นดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ 9 ดวง จะได้รับความสนใจมากที่สุดจากนักดาราศาสตร์

ระบบสุริยะจักรวาล

วัตถุในระบบสุริยะ

         ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่มีชนิดสเปกตรัม G2 มีมวลประมาณ 99.86% ของทั้งระบบ ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะมี 8 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และ ดาวเนปจูน

          ดาวบริวาร คือ วัตถุที่โคจรรอบดาวเคราะห์ ฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็กอื่นๆ ที่ประกอบกันเป็นวงแหวนโคจรรอบดาวเคราะห์ ขยะอวกาศที่โคจรรอบโลก เป็นชิ้นส่วนของจรวด ยานอวกาศ หรือดาวเทียมที่มนุษย์สร้างขึ้น

          ซากจากการก่อตัวของดาวเคราะห์ เป็นเศษฝุ่นที่จับตัวกันในยุคแรกที่ระบบสุริยะก่อกำเนิด อาจหมายรวมถึงดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง

          ดาวเคราะห์น้อย คือ วัตถุที่มีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ ส่วนใหญ่มีวงโคจรไม่เกินวงโคจรของดาวพฤหัสบดี อาจแบ่งได้เป็นกลุ่มและวงศ์ ตามลักษณะวงโคจร

          ดาวบริวารดาวเคราะห์น้อย คือ ดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กที่โคจรรอบดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่กว่าหรืออาจมีขนาดพอๆ กัน

          ดาวเคราะห์น้อยทรอย คือ ดาวเคราะห์น้อยที่มีวงโคจรอยู่ในแนววงโคจรของดาวพฤหัสบดีที่จุด L4 หรือ L5 อาจใช้ชื่อนี้สำหรับดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ที่จุดลากรางจ์ของดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ด้วย

          สะเก็ดดาว คือ ดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเท่าก้อนหินขนาดใหญ่ลงไปถึงผงฝุ่น

          ดาวหาง คือ วัตถุที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง มีวงโคจรที่มีความรีสูง โดยปกติจะมีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ภายในวงโคจรของดาวเคราะห์วงใน และมีจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดห่างไกลเลยวงโคจรของดาวพลูโต ดาวหางคาบสั้นมีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม ดาวหางที่มีอายุเก่าแก่มักสูญเสียน้ำแข็งไปหมดจนกลายเป็นดาวเคราะห์น้อย ดาวหางที่มีวงโคจรเป็นรูปไฮเพอร์โบลา อาจมีกำเนิดจากภายนอกระบบสุริยะ

          เซนทอร์ คือ วัตถุคล้ายดาวหางที่มีวงโคจรรีน้อยกว่าดาวหาง มักอยู่ในบริเวณระหว่างวงโคจรของดาวพฤหัสบดีและดาวเนปจูน

          วัตถุทีเอ็นโอ คือ วัตถุที่มีกึ่งแกนเอกของวงโคจรเลยดาวเนปจูนออกไป

          วัตถุแถบไคเปอร์ มีวงโคจรอยู่ระหว่าง 30 ถึง 50 หน่วยดาราศาสตร์ คาดว่าเป็นที่กำเนิดของดาวหางคาบสั้น บางครั้งจัดดาวพลูโตเป็นวัตถุประเภทนี้ด้วย นอกเหนือจากการเป็นดาวเคราะห์ จึงเรียกชื่อวัตถุที่มีวงโคจรคล้ายดาวพลูโตว่าพลูติโน

          วัตถุเมฆออร์ต คือ วัตถุที่คาดว่ามีวงโคจรอยู่ระหว่าง 50,000 ถึง 100,000 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นถิ่นกำเนิดของดาวหางคาบยาว

          เซดนา วัตถุที่เพิ่งค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งมีวงโคจรเป็นวงรีสูงมาก ห่างดวงอาทิตย์ระหว่าง 76-850 หน่วยดาราศาสตร์ ไม่สามารถจัดอยู่ในประเภทใดได้ แม้ว่าผู้ค้นพบให้เหตุผลสนับสนุนว่ามันอาจเป็นส่วนหนึ่งของเมฆออร์ต ฝุ่นซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในระบบสุริยะ อาจเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์แสงจักรราศี ฝุ่นบางส่วนอาจเป็นฝุ่นระหว่างดาวที่มาจากนอกระบบสุริยะ

ระบบสุริยะจักรวาล


ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล

ดวงอาทิตย์ (Sun)

          เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะจักรวาล อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางประมาณ 93 ล้านไมล์ และมีขนาดใหญ่กว่าโลกมากกว่า 1 ล้านเท่า มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาวกว่าโลก 100 เท่า ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่มีแสงสว่างในตัวเอง ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของโลก อุณหภูมิของดวงอาทิตย์อยู่ระหว่าง 5,500 - 6,100 องศาเซลเซียส พลังงานของดวงอาทิตย์ทั้งหมดเกิดจากก๊าซไฮโดรเจน โดยพลังงานดังกล่าวเกิดจากปฏิกริยานิวเคลียร์ภายใต้สภาพความกดดันสูงของดวงอาทิตย์ ทำให้อะตอมของไฮโดรเจนซึ่งมีอยู่มากบนดวงอาทิตย์ทำปฏิกริยาเปลี่ยนเป็นฮีเลียม

          ซึ่งจะส่งผ่านพลังงานดังกล่าวมาถึงโลกได้เพียง 1 ใน 200 ล้านของพลังงานทั้งหมด นอกจากนั้นบนพื้นผิวของดวงอาทิตย์ยังเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของพลังงานความร้อนบนดวงอาทิตย์อันเนื่องมาจากจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการแปรผันของพายุแม่เหล็ก และพลังงานความร้อน ทำให้อนุภาคโปรตรอนและอิเล็กตรอนหลุดจากพื้นผิวดวงอาทิตย์สู่ห้วงอวกาศ เรียกว่า ลมสุริยะ (Solar Wind) และแสงเหนือและใต้ (Aurora) เป็นปรากฏการณ์ที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้

          การเกิดจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) บางครั้งเราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และจะเห็นได้ชัดเจนเวลาดวงอาทิตย์ใกล้ตกดิน จุดดับของดวงอาทิตย์จะอยู่ประมาณ 30 องศาเหนือ และ ใต้ จากเส้นศูนย์สูตร ที่เห็นเป็นจุดสีดำบริเวณดวงอาทิตย์เนื่องจากเป็นจุดที่มีแสงสว่างน้อย มีอุณหภูมิประมาณ 4,500 องศาเซลเซียส ต่ำกว่าบริเวณโดยรอบประมาณ 2,800 องศาเซลเซียส นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าก่อนเกิดจุดดับบนดวงอาทิตย์นั้น ได้รับอิทธิพลจากอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าบริเวณพื้นผิวดวงอาทิตย์มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้อุณหภูมิบริเวณดังกล่าวต่ำกว่าบริเวณอื่นๆ และเกิดเป็นจุดดับบนดวงอาทิตย์

          แสงเหนือและแสงใต้ (Aurora) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดบริเวณขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้ มีลักษณะเป็นลำแสงที่มีวงโค้ง เป็นม่าน หรือ เป็นแผ่น เกิดเหนือพื้นโลกประมาณ 100 - 300 กิโลเมตร ณ ระดับความสูงดังกล่าวก๊าซต่างๆ จะเกิดการแตกตัวเป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า และเมื่อถูกแสงอาทิตย์จะเกิดปฏิกริยาที่ซับซ้อนทำให้มองเห็นแสงตกกระทบเป็นแสงสีแดง สีเขียว หรือ สีขาว บริเวณขั้วโลกทั้งสองมีแนวที่เกิดแสงเหนือและแสงใต้บ่อย เราเรียกว่า "เขตออโรรา" (Aurora Zone)

ดาวพุธ (Mercury)

          เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด สังเกตเห็นด้วยตาเปล่าได้ตอนใกล้ค่ำและ ช่วงรุ่งเช้า ดาวพุธไม่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร ดาวพุธหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกกินเวลา ประมาณ 58 - 59 วัน และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 88 วัน

ดาวศุกร์ (Venus)

          สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยสามารถมองเห็นได้ทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกในเวลาใกล้ค่ำ เราเรียกว่า "ดาวประจำเมือง" (Evening Star) ส่วนช่วงเช้ามืดปรากฏให้เห็นทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกเรียกว่า "ดาวรุ่ง" (Morning Star) เรามักสังเกตเห็นดาวศุกร์มีแสงส่องสว่างมากเนื่องจาก ดาวศุกร์มีชั้นบรรยากาศที่ประกอบไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีผลทำให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงขึ้น ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ไม่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร

โลก (Earth)

          โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ เนื่องจากมีชั้นบรรยากาศและมีระยะห่าง จากดวงอาทิตย์ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต นักดาราศาสตร์อธิบายเกี่ยวกับการเกิดโลกว่า โลกเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มก๊าซ และมีการเคลื่อนทีสลับซับซ้อนมาก โดยเราจะได้ศึกษาในรายละเอียดต่อไป

ดาวอังคาร (Mars)

          อยู่ห่างจากโลกของเราเพียง 35 ล้านไมล์ และ 234 ล้านไมล์ เนื่องจากมีวงโคจรรอบดวง อาทิตย์เป็นวงรี พื้นผิวดาวอังคารมีปรากฏการณ์เมฆและพายุฝุ่นเสมอ เป็นที่น่าสนใจในการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีลักษณะและองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกับโลก เช่น มีระยะเวลาในการหมุนรอบตัวเอง 1 วัน เท่ากับ 24.6 ชั่วโมง และระยะเวลาใน 1 ปี เมื่อเทียบกับโลกเท่ากับ 1.9 มีการเอียงของแกน 25 องศา ดาวอังคารมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 2 ดวง

ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)

          เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 9.8 ชั่วโมง ซึ่งเร็วที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหลาย และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา12 ปี นักดาราศาสตร์อธิบายว่า ดาวพฤหัสเป็นกลุ่มก้อนก๊าซหรือของเหลวขนาดใหญ่ ที่ไม่มีส่วนที่เป็นของแข็งเหมือนโลก และเป็นดาวเคราะห์ที่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวารมากถึง 16 ดวง

ดาวเสาร์ (Saturn)

          เป็นดาวเคราะห์ที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นดาวที่ประกอบไปด้วยก๊าซและของ เหลวสีค่อนข้างเหลือง หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 10.2 ชั่วโมง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบใช้เวลา 29 ปี ลักษณะเด่นของดาวเสาร์ คือ มีวงแหวนล้อมรอบ ซึ่งวงแหวนดังกล่าวเป็นอนุภาคเล็กๆ หลายชนิดที่หมุนรอบดาวเสาร์มีวงแหวนจำนวน 3 ชั้น ดาวเสาร์มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร 1 ดวง และมีดวงจันทร์ดวงหนึ่งชื่อ Titan ซึ่งถือว่าเป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล

ดาวยูเรนัส (Uranus)

          หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 16.8 ชั่วโมง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 84 ปี ดาวยูเรนัสประกอบด้วยก๊าซและของเหลว เช่นเดียวกับ ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ 4.8 ดาวเนปจูน (Neptune) เป็นดาวเคราะห์ที่มีระยะเวลาในการหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ เท่ากับ 17.8 ชั่วโมง และระยะ เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ เท่ากับ 165 ปี มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร 2 ดวง

ดาวพลูโต (Pluto)

          เป็นดาวเคราะห์ดวงสุดท้ายของระบบสุริยะจักรวาล มีระยะเวลาในการหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ รอบ เท่ากับ 453 ชั่วโม

ขั้นตอนการประดิษฐ์บั้งไฟ(อ่านแล้วทำได้เลย)


ขั้นตอนการทำบั้งไฟ

1. ลำกล้อง นิยม นำลำไม้มาทะลุปล้องและตากให้แห้ง อาจจะใช้ต้นหมาก ลำตาลไม้ประดู่ ไม้เนื้อแข็งที่มีคุณภาพดี ท่อเหล็กแป๊ป ท่อน้ำ หรือเอลสลอน อย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้แล้วแต่คณะกรรมการจัดงานกำหนด
2. ตัวบั้งไฟ แบบดั้งเดิมใช้กระบอกไม้ไผ่ขนาดยาว สั้น ตามต้องการของแต่ละคูรมีสูตรไม่แน่นอน ไม่เหมือนกับใช้ไม้ไผ่สดทะลวงปล้อง กลวงกลางข้างในออกลนไฟให้แห้งพันรอบขันชะเนาะด้วยเชือกหวายหรือตอกไม้ไผ่ ควั่นให้แน่นเพื่อกันแตก บรรจุดิน ซึ่งเป็นดินปืนสูตรผสมที่เปฯความลับเฉพาะของช่างทำบั้งไฟนั้น ปัจจุบันตัวบั้งไฟนิยมทำด้วยท่อเหล็กหรือเอลสลอน บางครั้งมีลูกไฟด้วย
3. หางบั้งไฟ ไม้ที่จะใช้ทำหางบั้งไฟจะต้องใช้ไม้ไผ่ยาวๆเรียบๆ พอเหมาะกับม้ำหนังของตัวบั้งไฟมัดติดเข้ากับตัวบั้งไฟให้แน่นเพื่อเป็นหาง บังคบให้พุ่งตรงขึ้นไป


4. หมื้อหรือดินปืน เป็นวัสดุที่มีส่วนผสมกำมะถัน (คนอีสานเรียกว่ามาด )ผสมกับดินระสิว ( คนอิสานเรียกว่าขี้เจีย ) และถ่านที่ได้จากการเผาไม้เนื้ออ่อนเช่น ไม้ละอาง(นนทรี) ไม้สะคร่าง (หมากเล็กหมากน้อย) ไม้มะค่าเพราะมีเขม่าน้อยตำลัเอียดเร็ว นอกจากนี้อาจใช้ไม้ฉำฉา หรือไม้สาบเสือก็ได้ แต่เป็นดินปืนแล้วเขม่ามาก
5. เถียด คือส่วนที่อยู่หัวท้ายของตัวบั้งไฟ ทำด้วยไม้กลมๆ หรือดินเหนียวกันแรงระเบิดพุ่งออกมา ต่อจากเถียดมีดินเหนียวคั่นหมื้อไว้อีกชั้นหนึ่งก่อนใส่เถียดท้ายบั้งไฟต้อง เจาะรูชนวนซึ้งใช้จีวรพระหรือผ้าเก้ามัดให้ยาวตามต้องการ คลุกกับดีเกลื่อบรรจุเตามรูชนวนแล้วปล่อยหางชนวนไว้จุดไฟ
1. บั้งไฟแบบมีหาง เป็นแบบมาตรฐานเรียกว่า "บั้งไฟหาง" มีการตกแต่ให้สวยงามเมื่อเวลาเซิ้ง เวลาจุดจะพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าได้สูงมาก ควบคุมทิศทางได้เล็กน้อย
2. บั้งไฟแบบไม่มีหาง เรียกว่า"บั้งไฟก่องข้าว" รูปร่างคล้ายกล่องข้าวเหนืยวชนิดมีขาตั้ง เป็นแฉกถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นชัดก็คล้ายจรวดนั่นเอง
3. บั้งไฟตะไล มีรูปร่างกลมมีไม้บางๆแบนๆทำเป็นวงกลมรอบหัวท้ายของบั้งไฟเวลาพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าจะพุ่งไปโดยทางขวาง
4. บั้งไฟแสน บั้งไฟแสนชนิดนี้เป็นบั้งไฟขนาดใหญ่ที่สุดบรรจุดินปืน 120 กิโลกรัมขึ้นไป บั้งไฟขนาดนี้ทำยากที่สุดจะต้องอาศัยความชำนาญพิเศษเพราะบั้งไฟขนาดนี้ใหญ่ แล้วเป็นอันตรายมาก เพราะฉะนั้นก่อนทำช่างบั้งไฟจะต้องมีพิธีกรรมบวงสวงให้ถูกต้องตามหลักการทำ บั้งไฟแสนเสียก่อนจึง
จะลงมือทำเมื่อทำเสร็จแล้วจะมีการประกอบหางบั้งไฟสั้นยาวตามขนาดเสร็จแล้วจะมีการตกแต่งประดับประดาบั้งไฟ
5. บั้งไฟหมื่น บั้งไฟชนิดนี้เป็นบั้งไฟขนาดกลาง บรรจุดินปืน 15 - 120 กิโลกรัม ขนาดกระบอกกว้าง 3.5 นิ้วยาวประมาณ 140 เซนติเมตร ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่กระบอกเหล็ก (เลาเหล็ก) กระบอกพลาสติก (เลาเอสลอน) การจุดบั้งไฟแข่งขันส่วนมากเป็นบั้งไฟหมื่น
บั้งไฟตะไล
   บั้งไฟตะไลนี้ ก็คือ บั้งไฟจินายขนาดใหญ่นั่นเอง มีความยาวประมาณ 9 - 12 นิ้ว รูปร่างกลมมีไม้บางๆแบนๆ เป็นวงกลมรอบหัวท้ายของบั้งไฟ เวลาพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าจะพุ่งไปโดยทางขวาง
บั้งไฟม้า
   บั้งไฟม้าชนิดนี้ เป็นบั้งไฟจุดตามทิศทางที่กำหนด ใช้เส้นลวดเป็นวิถีตรงไปเป้าหมายที่ต้องการ ลักษณะทั่วไปเป็นบั้งไฟที่ทำจากไม้ไผ่ 1 ปล้อง ขนาดแล้วแต่ต้องการ โดยทั่วไปเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ฟุต ทางภาคกลางและภาคเหนือเรียกว่า "ลูกหนู"โดยทั่วไปเรียกว่าไฟม้าเพราะนิยมทำรูปม้า ติดข้างบนเวลาจุดไปตามเส้นลวดคล้ายกับม้าเวลาที่กำลังวิ่งถ้าติดรูปอะไรก็จะ เรียกชื่อไปตามนั้น เป็นรูปคนขี่ม้า รูปวัว แล้วแต่จะทำรูปอะไรบางครั้งภาคเหนือเรียกว่า บอกไฟยิง
บั้งไฟตื้อ
บั้งไฟตื้อหรือบั้งไฟกระแตนั้งตอ เป็นบั้งไฟขนาดเล็กมีหางสั้น
วิธีทำ
   ตัดกระบอกไม้ไผ่ขนาด 1 นิ้วครึ่ง ยาวประมาณ 3 นิ้ว อัดหมื้อให้แน่นประมาณ 2 นิ้ว ใช้หมื้อขนาดสามส่วนสี่อัดด้วยเถียดไม้ให้แน่น ต่อหางซึ้งทำจากไม้ไผ่เหลาเป็นแท่งเล็กๆใช้เลื่อยตัดมุมข้อออกจนเห็นหมื้อ เจาะให้เป็นรูเล็กๆแล้วติดชนวน เวลาจุดเอาหางเสียบลงไปแท่นที่ตั้งได้จุดชนวนจากด้านข้างบั้งไฟจะพุ่ง และหมุนขึ้นสู่อากาศเกิดเสียงดังตื้อๆ เวลาหมุนจะไม่ค่อยมีทิศทาง ใช้จุดเป็นชนวนในการจุดบั้งไฟใหญ่หรืองานศพ เวลาจุดมีอันตรายมากไม่คอยนิยมทำกัน

อุปกรณ์
1. ดินปืนป่นละเอียดถ่าน 3(ดินประสิว 1กิโลกรัม ถ่าน 3 กรัม)
2. เลาไม้ไผ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 11/2 ลนไฟให้แห้งพอหมาด
3. ดินเหนียวป่นให้ละเอียดแล้วผสมน้ำพอหมาด
4. สากไม้ไผ่หรือเหล็กขนาดพอดีกับรูบองเลาไม้ไผ่
5. ฆ้อนสำหรับตีตอก
บั้งไฟจินาย
   บั้งไฟจินายเป็น บั้งไฟขนาดเล็กยาวประมาณ 1-4 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางกว้างประมาณ 1/2- 2 นิ้วมีหางยาวประมาณ 1 ศอก เจาะรูที่ใช้จุดชนวนเฉพาะด้านล่างไม่ต้องทะลุขึ้นด้านบน เป็นบั้งไฟที่ใช้จุดเพื่อความสวยงามใช้จุดตามประเพณีต่างๆ เช่น งานบุญกฐิน บวชนาค ทอดผ้าป่า เป็นต้น บั้งไฟที่ใช้จุดในขบวนแหมีหลายขนาดบั้งไฟจินายเล็ก เรียกว่า ตะไล ทำจากไม้ซางหรืออ้อบั้งไฟจินายขนาดกลาง เรียกว่า ตะไล เป็นขนาดที่นิยมทำกันมากบั้งไฟจินายขนาดใหญ่ เรียกว่า ตะไลหมื่น จะมีรูปร่างกลมติดปีกเป็นขอบรอบหัวท้าย บั้งเหมือนขอบกระด้งเจาะรูกลางบั้ง เวลาจุดผู้จุดใช้มือจับเมื่อไฟติดหมื้อรีบขวางออกไป ตะไลจะพุ่งสู่อากาศอย่างสวยงาม
อุปกรณ์
1.ดินปืน (หมื้อ) ถ่าน 3
2.เลาไม้ไผ่ขนาด 1/2 -2 นิ้วลนไฟให้หมาด
3.เถียดดินเหนียวป่นละเอียดผสมนำพอหมาด
4.สากไม้กลมหรือสากเหล็กขนาดพอดีกับรูของเลา
5.ค้อนสำหรับตี
บั้งไฟจินายเวลาจะจุดต้องมี ไม้หลักที่มีอู้แล้วใช้หางเสียบลงไป เมื่อจุดแล้วบั้งไฟจะขึ้นในแนวตั้ง และหมุนขึ้นเป็นเกียว (จินายขนาดเล็ก)

ั้นตอนการทำบั้งไฟ
   การทำบั้งไฟนั้นจะต้องมีการศึกษาเรียนรู้ มีครูและมีศิษย์สืบทอดกันมาคนที่เป็นช่างทำบั้งไฟเรียกว่า "ช่างบั้งไฟ"โดยทั่วไปจะถ่ายทอดต่อกันนับพ่อกับลูก ลูกกับหลาน หรือครูกับศิษย์ เป็นคนๆเท่านั้น ไม่ใช่คนทั่วไปอยากเรียนก็จะเรียนได้หมด ครูจะเลือกถ่ายทอดให้ตัวต่อตัวสำหรับศิษย์ที่ครูเห็นว่ามีไหวพริบ และมีพรสวรรค์ด้านการทำบั้งไฟเท่านั้น ก่อนจะลงมือทำบั้งไฟต้องจัดหาอุปกรณ์ไว้ให้ครบเรียบร้อย เพื่อความสะดวกในการทำ การทำบั้งไฟในปัจจุบันกับสมัยโบราณจะต่างกันในเรื่องระยะเวลา ในปัจจุบันจังหวัดยโสธรจะกำหนดไว้เลยว่าจะจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟในสัปดาห์ ที่ 2ของเดือนพฤษภาคมทุกปีอุปกรณ์ในการทำบั้งไฟในปัจจุบันหาได้ง่ายทันสมัยถ้า หากมีเงินเพียงพอบั้งไฟจะเสร็จประกอบด้วย

1.ไม้ที่จะทำลำกล้อง(เลา)และหางบั้งไฟ
2.ขี้เจีย (ดินประสิว)
3.ไม้ที่จะทำถ่าน
4.เชือก ลวด ตะปู
5.แผ่นสังกะสีแบนๆ
6.เถียดไม้หรือดิน
7.อุปกรณ์อื่นๆ ตามต้องการ

วิธีทำบั้งไฟ
เมื่อเตรียมวัสดุอุปกรณ์พร้อมแล้วดำเนินการดังนี้

ถ้าดินประสิว 1 ส่วน ถ่าน 3 ส่วน เรียกว่าหมื้อถ่านสาม มีความเร็วปานกลาง
ถ้าดินประสิว 1 ส่วน ถ่าน 4 ส่วน เรียกว่าหมื้อถ่านสี่ มีความไวช้า หมื้อขับนิยมทำกันถึงถ่านแปด
1. ลำกล้อง นิยมนำลำไม้มาทะลุปล้องและตากให้แห้ง อาจจะใช้ต้นหมาก ลำตาล ไม้ประดู่ ไม้เนื้อแข็งที่มีคุณภาพดี ท่อเหล็กแป๊ปท่อน้ำ หรือเอลสลอน อย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ แล้วแต่คณะกรรมการจัดงานกำหนด
2. ตัวบั้งไฟ แบบดั้งเดิมใช้กระบอกไม้ไผ่ขนาดยาว สั้น ตามต้องการ ของแต่ละคูรมีสูตรไม่แน่นอน ไม่เหมือนกับใช้ไม้ไผ่สดทะลวงปล้อง กลวงกลางข้างในออกลนไฟให้แห้งพันรอบขันชะเนาะด้วยเชือกหวายหรือตอกไม้ไผ่ ควั่นให้แน่นเพื่อกันแตก บรรจุดิน ซึ่งเป็นดินปืนสูตรผสมที่เปฯความลับเฉพาะของช่างทำบั้งไฟนั้น ปัจจุบันตัวบั้งไฟนิยมทำด้วยท่อเหล็กหรือเอลสลอน บางครั้งมีลูกไฟด้วย
3. หางบั้งไฟ ไม้ที่จะใช้ทำหางบั้งไฟจะต้องใช้ไม้ไผ่ยาวๆเรียบๆ พอเหมาะกับม้ำหนังของตัวบั้งไฟมัดติดเข้ากับตัวบั้งไฟให้แน่นเพื่อเป็นหาง บังคบให้พุ่งตรงขึ้นไป
4. หมื้อหรือดินปืน เป็นวัสดุที่มีส่วนผสมกำมะถัน (คนอีสานเรียกว่ามาด ) ผสมกับดินระสิว ( คนอิสานเรียกว่าขี้เจีย )และถ่านที่ได้จากการเผาไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ละอาง(นนทรี) ไม้สะคร่าง (หมากเล็กหมากน้อย) ไม้มะค่า เพราะมีเขม่าน้อยตำลัเอียดเร็วนอกจากนี้อาจใช้ไม้ฉำฉา หรือไม้สาบเสือก็ได้ แต่เป็นดินปืนแล้วเขม่ามาก
5. เถียด คือส่วนที่อยู่หัวท้ายของตัวบั้งไฟ ทำด้วยไม้กลมๆ หรือดินเหนียว กันแรงระเบิดพุ่งออกมา ต่อจากเถียดมีดินเหนียวคั่นหมื้อไว้อีกชั้นหนึ่งก่อนใส่เถียดท้ายบั้งไฟ ต้องเจาะรูชนวนซึ้งใช้จีวรพระหรือผ้าเก้ามัดให้ยาวตามต้องการ คลุกกับดีเกลื่อบรรจุเตามรูชนวน แล้วปล่อยหางชนวนไว้จุดไฟ
ขั้นตอนการทำหมื่อ

1. เตรียมฟืน ใชไม้เนื้ออ่อนมาตัดเป็นท่อนๆ แล้วผ่าเป็นผืนจะใช้จำนวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของบั้งไฟ
2. ผึ่งแดด นำฟืนที่ผ่าแล้วมาตากแดด
3. ขุดหลุม ขุดหลุมให้มีลักษณะกลม ขนาดจะเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กลับจำนวนฟืนเสร็จแล้วนำฟืนที่ตากอย่าให้แห้งมาก ลงวางในหลุมลักษณะการว่างฟืนจะวางเป็นรูกกรัโจม
4. เมื่อวางไม้ในหลุมแล้วก็จุดไฟเผาเหมือนเผาถ่าย
5. เมื่อฟืนไหม้หมดแล้วเหลือแต่ถ่านก็นำใบตองหรือสังกะสีมาปิดปากหลุมแล้วใช้ดินกลบปากหลุม ไม่ให้ควันออก
6. เก็บถ่าน นำถ่านที่ได้จากการเผาใส่ภาชนะแล้วนำไปผึ่งให้เย็น
7. เตรียมดินปืน โดยคั่วขี้เจีย (ดินประสิว) และถ่านร่วมกันโดยคั่วดินประสิวก่อน ต้มน้ำให้เดือดก่อนแล้วจึงเอาดินประสิวลงเมื่อละลายแล้วจึงนำถ่านมาคั่วรวม กัน
เคี่ยวต่อจนเกือบแห้งจึงนำขึ้นมาผึ่ง
8. โขลก นำถ่านและดินประสิวที่คั่วแล้วมาโขลกให้ละเอียด
9. ร่อน นำดินปืน หมื้อที่คั่วแล้วตำแล้วมาร่อนให้ละเอียด
10.ทดลองหมื้อหรือดินปืน เพื่อหาอัตราส่วนมี่สมดุลย์ ถ้าติดไฟเร็วแสดงว่าสมดุลย์ใช้ได้ แต่ถ้าติดไฟช้าแสดงว่าส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งน้อยไป
เช่นอาจเป็นที่ดินประสิวหรือถ่านต้องคอยเติมเวลาคั่ว แล้วนำมาทดลองจนกว่าจะได้ที่ หมื้อ (ดินปืน) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. หมื้อดินสุก หมายถึง การใช้ดินประสิวผสมกันแล้วนำไปคั่ว(ผสมน้ำเล็กน้อย)หมื้อชนิดนี้มีแรงอัด มากกว่า และมีอันตรายมาก สำหรับอัตราส่วนก็เหมือนกัน
2.หมื้อดินดิดบ หมายถึง การใช้ดินประสิวตำแล้วผสมถ่นตามสัดส่วน แบ่งหม้อออกเป็นหลายชนิด ตามแบบเดิมของช่างโบราณ โดยถือเป็นส่วนผสมของดินประสิว
และถ่าน เช่น ถ้าดินประสิว 2 ส่วน ถ่าน 2.5 ส่วน เรยกว่า หม้อสิบสลึง หรือเบี่ยห้า มีคว่ามเร็วมาก
หมื้อ (ดินปืน) แบ่งตามลักษณะการใช้ คือ
1. หมื้อถีบ เป็นหมื้อที่มีความไวสูง ผสมดินมาดและถ่านในอัตราส่วน 4:1/4:1คือ ดินบาด มาดเฟื้อง ถ่านสลึงใช้เป็นหมื้อปืนหรือหมื้อพลุ เพราะติดง่ายและไวไฟ
2. หมื้อขับ เป็นหมื้อที่มีความไวรองลงมา ได้แก่ หมื้อสิบสลึง หมื้อถ่านสามและหมื้อถ่านสี่ ใช้ในการทำบั้งไฟและตะไลทั่วไป
3. หมื้ออ่อน เป็นหม้อที่มีความไวไฟตำ ได้แก่ หมื้อตั้งแต่ถ่านห้าก้อนขึ้นไปใช้ใส่ในบั้งไฟ เมื่อต้องการแรงเฉื่อย เช่น ตอนปากกระบอกไฟ
4. หมื้อผสม เป็นหมื้อพิเศษ เป็นหมื้อพิเศษมีส่วนผสมแตกต่างกันออกไปเพื่อผลบางอย่าง ส่วนผสมจึงไม่แน่นอน เช่น ใส่นุน ขี้เหล็ก นำนม ฯลฯ เช่น หม้อไฟพะเนียง
สูตรหม้อ (ดินปืน)
   ทั่วไปช่างทำบั้งไปจะใช่ หม้อบรรจุลงในตัวบั้งไฟจะขึ้นสูงแค่ไหน ขึ้นอยู่กับกลวิธีในการทำ การบรรจุ ถ้าผสมดินปืนแรงไปบั้งไฟจะเกิดระเบิดเสียก่อนหรือพอขึ้นไป
ได้เล็กน้อยก็จะระเบิด ระหว่างทาง เรียกว่า บั้งไฟแตก ถ้าผสมดินปืนอ่อนไป บั้งไฟจะขึ้นไปยังไม่พ้นฐานปล่อย ก็ตกลงไปคำรามอยู่บนพื้นดิน หรือคำรามอยู่กับที่ เรยกว่า "บั้งไฟซุ"
การบรรจุดินปืน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ตอนหนึ่ง แรงยก
- ตอนสอง แรงขับส่ง
- ตอนสาม แรงพุ่ง
สูตรดินปืนบั้งไฟแสน ใช้ดินปืน 3 ช่วง
ช่วงที่ 1 ส่วนผสมดินประสิว 10 กิโลกรัม ใช้ถ่านผสม 4 กิโลกรัม
ช่วงที่ 2 ส่วนผสมดินประสิว 10 กิโลกรัม ใช้ถ่านผสม 3 กิโลกรัม
ช่วงที่ 3 ส่วนผสมดินประสิว 10 กิโลกรัม ใช้ถ่านผสม 2.5 กิโลกรัม
บั้งไฟแสน 1 บั้ง บรรจุดินปืน 12 กิโลกรัม

การเจาะรูชนวน
1. การเจาะรูชนวนแบบเศวตฉัตร ให้เอาเชือกเจาะอะไรก็ได้วัดความกว้างของบั้งไฟจากริมนอกข้างหนึ่ง ผ่าศุนย์กลางถึงถึงริมในอีกข้างหนึ่ง แล้วนำความยาวมาแบ่งเป็น 6 ส้วนหาความยาว 1 ใน 6 มาแบ่งเป็น 6 ส่วน ซึ่ง 1 ใน 6 ส่วนนี้คือความกว้างของรูชนวนช่วงแรก แล้วเอาความกว้างของรูชนวนช่วงแรกมาเป็นเป็น 6 ส่วน เจาะรูเท่ากัน 1ใน 6 ลดหลั่นไปทีละชวงจนถึงเถียดสลัก
2. การเจาะรูชนวนแบบตาลถอดยอด รูชนวนช่วงแรกมีขนาดทำแบบเศวตฉัตร เอาความกว้างของรูแค่ 1 ใน 2 ลดหลั่นกันไป ทั้งสองแบบนี้เป็นแบบจุดชนวนทางหัว ซึ่งสมัยก่อนชอบทำ เพราะไม่มีแป๊บเหล็กทำบั้งไฟ
3. การเจาะรูชนวนแบบโมคตัลลาหลงทวีป ซึ่งจะเจาะรูแบบใดก็ได้ แต่หัวบั้งไฟมีเถียดหรือสลักแน่นหนา แบบนี้ใช้จุดชนวนท้ายบั้ง เป็นวิธีการค่อนข้างใหม่ ถ้าจะใช้พุ่งแรงไปให้ได้ไกล ๆ สูง ๆ ให้บรรจุกำมะถันลงไปตรงงเถียดหลังมาก ๆ จะมีแรงระเบิด ระเบิดมาก การเจาะรูเพื่อใส่ชนวนนี้ต้องอาศัยความชำนาญ เพราะถ้าทำไม่ดีอาจก่อให้เกิดอันตรายเวลาจุดบรรจุดินปืน นำดินปืนบรรจุลงในเลาแล้วอัดให้แน่นจนเกือบเต็มแล้วปิดรูอีดด้านให้แน่นเจาะ รูลำกล้อง เมื่ออัดดินปืนแน่นแล้ว ก็เจาะรูลำกล้องสำหรับใส่ชนวนนำลำกล้องที่เจาะรูแล้วมามัดเข้าทางบั้งไฟ เตรียมประกอบรูปร่าง
ประวัติความเป็นมาของบุญบั้งไฟ ตำนานของประเพณีบุญบั้งไฟ ผูกพันกับนิทานพื้นบ้านสองเรื่องคือเรื่องท้าวผาแดงนางไอ่ และเรื่องสงครามระหว่างพญาคันคากกับพญาแถน ซึ่งเป็นเรื่องที่กล่าวถึงที่มาของการยิงบั้งไฟเลยทีเดียว ตำนานเรื่องนี้เริ่มจากพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นพญาคันคาก (คางคก) อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ครั้งนั้น พญาแถน เทพผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ผู้ดลบันดาลให้ฝนตก เกิดไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลให้ฝนไม่ตก เกิดไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลให้ฝนไม่ตกเลยตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ชาวเมืองทนไม่ไหวจึงคิดทำสงครามกับพญาแถน แต่สู้พญาแถนกับกองทัพเทวดาไม่ได้ ถูกไล่ล่าหนีมาถึงต้นไม้ใหญ่ที่พญาคันคากอาศัยอยู่ ในที่สุดพญาคันคากตกลงใจเป็นจอมทัพของชาวโลกต่อสู้กับพญาแถน พญาคันคากให้พญาปลวกก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงสวรรค์ ให้พญามอดไม้ไปทำลายด้ามอาวุธของทหารและอาวุธพญาแถน และให้พญาผึ้ง ต่อ แตนไปต่อยทหารและพญาแถนฝ่ายเทวดาพ่ายแพ้ พญาแถนจึงให้คำมั่นว่า หากมนุษย์ยิงบั้งไฟขึ้นไปเตือนเมื่อไรจะรีบบันดาลให้ฝนตกลงมาให้ทันทีและถ้ากบเขียดร้องก็ถือเป็นสัญญาณว่าฝนได้ตกลงถึงพื้นแล้ว และเมื่อใดที่ชาวเมืองเล่นว่าวก็เป็นสัญญาณแห่งการหมดสิ้นฤดูฝน พญาแถนก็บันดาลให้ฝนหยุดตก ส่วนตำนานพื้นบ้านเรื่องผาแดงนางไอ่ มีความโดยย่อ คือ นางไอ่เป็นธิดาพระยาขอมผู้ครองเมืองชะธีตา นางไอ่เป็นสตรีที่มีสิริโฉมงดงามเป็นที่เลื่องลือไปในนครต่างๆ ทั้งโลกมนุษย์และบาดาล มีชายหนุ่มหมายปองจะได้อภิเษกกับนางมากมาย ในจำนวนผู้ที่มาหลงรักนางไอ่ มีท้าวผาแดงและท้าวพังคี โอรสสุทโธนาค เจ้าผู้ครองนครบาดาล ท้าวทั้งสองต่างเคยมีความผูกพันกับนางไอ่มาแต่อดีตชาติ จึงต่างช่วงชิงจะได้เคียงคู่กับนาง แต่ก็พลาดหวัง จึงมิได้อภิเษกทั้งคู่เพราะแข่งขันบั้งไฟแพ้ ท้าวพังคีนาคไม่ยอมลดละ แปลงกายเป็นกระรอกเผือกคอยติดตามนางไอ่ สุดท้ายถูกฆ่าตาย พญานาคผู้เป็นพ่อจึงขึ้นมาถล่มเมืองล่มไป กลายเป็นหนองน้ำใหญ่ คือ หนองหาน หนองหานในตำนานท้าวผาแดงนางไอ่ ที่เป็นที่ถกเถียงกันว่าที่ไหนกันแน่ มีอยู่ถึง 3 ที่ ได้แก่ หนองหาน ที่ อำเภอ หนองหาน จังหวัดอุดรธานี และหนองหาน อำเภอกุมภวาปี ซึ่งก็ไม่ไกลจากที่แรกมากนัก และอีกที่หนึ่งก็คือหนองหาร จังหวัด สกลนคร ในตำราอ้างอิงถึงเรื่องผาแดงนางไอ่จบลงด้วยการเกิดเป็นหนองน้ำ ขนาดใหญ่จากการต่อสู้ของพญานาคกับท้าวผาแดง ต่างก็มีข้อมูลอ้างอิงถึง หนองน้ำที่ชื่อหนองหาน แต่กล่าวต่างกันไปในตำราแต่ละเล่มถึงหนองน้ำ ทั้ง3 แห่ง

กิจกรรม:Traval to the moon ฟิสิกส์จาากแดนอีสาน

                                       3 กรกฎาคม 2556

เวลา 8.30-14.00  น.
- นักเรียนเข้าฐานเรียนรู้ ปฏิบัติทดลอง  4  ฐานการเรียนรู้
1.ฐานข้อมูลเรียนรู้เกี่ยวกับบั้งไฟ
2.ฐานทดลองประดิษฐ์ข-จำลองบั้งไฟ
3.ฐานข้อมูล หลักการเกี่ยวกับพลุ
4.ฐานสร้างจรวด

วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

ภาพบั้งไฟ

http://youtu.be/_YiReQxt3XQ

 ดินปืน(Gun powder)
• ดินดำ (Black powder) ดินประสิว 75% ถ่านไม้ 15% กำมะถัน 10%
• ดินควันน้อย (Smokeless powder)
• Single base
• Nitrocellulose (Cellulose Fiber + conc.HNO3 + conc.H2SO4)
• Double base
สูตรการทำบั้งไฟ
ดินดำในปัจจุบันมีลักษณะเป็นเม็ดมี 4 ขนาด
Fg มีขนาดใหญ่ที่สุด , FFg, FFFg และ FFFFg มีขนาดละเอียดที่สุด
ดินควันน้อยมี 4 แบบ ดือ ฝอยหรือเกล็ด (Flake),แผ่น (Disc),แท่ง (Tabular)และเม็ดกลม (Ball)
(แบบฝอย หรือ เกล็ด มีอัตราการเผาไหม้ ไวที่สุด แบบเม็ดกลม มีอัตราการเผาไหม้ ช้าที่สุด)


วัตถุระเบิดแรงต่ำ (Low Explosive)
ระเบิดแรงต่ำ คือระเบิดที่สามารถทำให้เกิดการระเบิดได้โดยการใช้ไฟจุด ทำให้มีการเผาไหม้ของสารเคมีอย่างรุนแรงในพื้นที่จำกัดที่เรียกว่าการ Deflagration ทำให้เกิดแรงดันของก๊าซอย่างมหาศาล จนทำให้เกิดการระเบิดขึ้น ระเบิดแรงต่ำ ต่างจากระเบิดแรงสูงที่ ไม่สามารถทำให้เกิดช็อกเว็บ (Shock wave) ระเบิดแรงต่ำที่ใช้ในงานเหมืองแร่และเหมืองหิน ในปัจจุบัน คือดินดำ (Black powder) ซึ่งมีส่วนประกอบ โดยประมาณ ดังนี้
ดินประสิว = 75 %
กำมะถัน = 10 %
ผงถ่าน = 15 %
คนจีนเป็นชาติแรกที่รู้จักการใช้ประโยชน์ดินดำ โดยนำมาใช้ในการทำดอกไม้เพลิง ตั้งแต่คริตย์ศักราชที่ 13 ได้มีการนำดินดำมาใช้ในงานเหมืองแร่ครั้งแรก ในคริสต์ศักราชที่ 17 เมื่อมีการค้นพบระเบิดแรงสูง ในคริสต์ศักราช ที่ 18 ดินดำได้ลดบทบาทลงมาเนื่องจากประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการใช้งาน ด้อยกว่าระเบิดแรงสูงดินดำที่จำหน่ายในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นผงสีดำ หรืออัดเป็นแท่งเพื่อใช้ในการอัดรูระเบิดขนาดเล็ก (1 1/2 นิ้ว) ในประเทศไทยมีการใช้ดินดำเพื่อการระเบิด เพื่อเบ่งหินแกรนิต และหินอ่อน เนื่องจากดินดำมีพลังในการทำลายล้างค่อนข้างต่ำ สามารถใช้ในการระเบิดหินมิติ (Dimension stone) เช่นหินแกรนิต และหินอ่อนได้โดยไม่ทำให้หินแตกร้าวมา
                                                                                                      เขียนโดยผู้รู้จากแดนอีสาน

ข้อมูลจากแดนอีสาน

                                       3 กรกฎาคม 2556

เวลา 8.30-14.00  น.
- นักเรียนเข้าฐานเรียนรู้ ปฏิบัติทดลอง  4  ฐานการเรียนรู้
1.ฐานข้อมูลเรียนรู้เกี่ยวกับบั้งไฟ
2.ฐานทดลองประดิษฐ์ข-จำลองบั้งไฟ
3.ฐานข้อมูล หลักการเกี่ยวกับพลุ
4.ฐานสร้างจรวด